วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

การบริหารสำนักงาน" เป็นหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการสำนักงาน หรือองค์การ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื้อหาภายในครอบคลุมสามส่วนหลักได้แก่ ส่วนแรก แนวคิดการบริหารสำนักงาน ซึ่งเน้นผู้บริหารสำนักงานในยุคข้อมูลข่าวสาร ส่วนที่สอง ระบบการจัดการภายในสำนักงาน โดยมีรายละเอียดของการจัดการพื้นที่สภาพแวดล้อม พัสดุ เอกสาร แบบฟอร์มต่างๆ สำหรับส่วนที่สาม การปรับตัวและพัฒนาเพื่อการบริหารสำนักงานในอนาคต เป็นการเสนอแนวคิดของสำนักงานอัตโนมัติ การพัฒนาระบบงานบริหาร และทิศทางการบริหารสำนักงานในอนาคต อาทิ สำนักงานแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น
สำนักงานเป็นสถานที่ทำการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กิจกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่องานใด ๆ ก็จะต้องติดต่อกับสำนักงานทั้งสิ้น ดังนั้นสำนักงานจึงเป็นศูนย์รวมของงานทุกชนิดโดยเฉพาะงานด้านธุรการ ที่สำคัญยิ่งก็คือ งานด้านเอกสาร และการบริหารสำนักงาน ตามความเห็นของ เจ ซี เด็นเยอร์ (J.C.Denyer) การบริหารสำนักงานเป็นการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อนำเอาทรัพยากรบริหารที่ประกอบด้วย คน เงิน วัสดุสิ่งของ และการจัดการมาใช้เป็นกลไกในการปฏิบัติงาน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหน่วยงานขึ้นอยู่กับคุณภาพในการบริหารงาน ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อหาวิธีการทำอย่างไรจึงจะให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ

แนวทางการบริหารสำนักงานให้เกิดประสิทธิภาพ
1) วัตถุประสงค์ สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือการกำหนดวัตถุประสงค์ของสำนักงานหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสำนักงาน
2) องค์กร คือการจัดการในด้านบุคลากร การจำแนกตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร
3) วิธีการ (ระบบ) คือลำดับของการปฏิบัติงานและสิ่งที่ต้องจัดทำ จัดทำที่ไหน ภายในกรอบเวลาที่กำหนด
4) บุคลากร จะเกี่ยวข้องกับการจัดจ้าง การกำหนดตำแหน่งหน้าที่ การฝึกอบรม ขวัญและกำลังใจ การปรับปรุงตำแหน่งหน้าที่ และการลดพนักงาน





หน้าที่ของสำนักงาน ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดเตรียมบริการด้านต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการสื่อสารและการบันทึกข้อมูล รวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ต่อไปนี้
1) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร (เช่นว่า ข้อเสนอ ตารางเวลา คำสั่งต่าง ๆ เป็นต้น)
2) เพื่อบันทึกข้อมูลข่าวสาร (เช่น วัสดุสำนักงาน ราคา ข้อมูลบุคลากร เป็นต้น)
3) เพื่อการจัดเตรียมข้อมูล (เช่น จัดทำต้นทุน บัญชี สถิติ เป็นต้น)
4) เพื่อการให้ข้อมูล (เช่น ออกใบส่งของ ประมาณการ เป็นต้น)
5) เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน (เช่น การรักษาเงินสด สินค้า เอกสารสำคัญ เป็นต้น) ในแง่นี้การมีประกันภัยที่พอเพียงย่อมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง

หน้าที่ของสำนักงานในทางธุรกิจ
1) โดยปกติแล้วมีความสำคัญรองลงมาจากด้านวัตถุประสงค์หลัก (ฐานราก) ของธุรกิจ (เช่นการผลิตในโรงงานมีความสำคัญในลำดับต้นก่อนการบริหารสำนักงาน)
2) เป็นส่วนที่เติมต่อฐานรากให้สมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้โรงงานทำงานได้นานยิ่งกว่าเดิมด้วยบริการสำนักงานในด้านการประเมินและจ่ายค่าแรง หรือการจัดการจ่ายค่าวัตถุดิบต่าง ๆ เป็นต้น
3) ทำหน้าที่ควบคุมปัจจัยในการผลิต โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการ บุคลากรและการควบคุมงบประมาณ

15 ความคิดเห็น:

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เนื้อหาดีมีสาระมากค่ะ


รัชนี ธรรมรัตน์

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

ตัวเล็กจังอ่านไม่ค่อยเห็น

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เนื้อหากระทัดรัดดี



อนิษา แก้วเพ็ง

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

อักษรตัวเล็กจังแต่เนื้อหาดีมาก


วยุรี ทองปาน

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เนื้อหาน้อย


นราทิพย์ พุ่มจันทร์

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เก่งจังเลย ทำได้งัย


อารี หมั่นช่วย

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เนื้อหาดีสามารถนำไปใช้ได้


เสาวลักษณ์ หนูด้วง

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

คิดได้งัย ฉลาดดีนิ

สุนิษา นิยมผล

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เก่งจังเลย


วรรณิศา จุไร

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เนื้อหาดีมากกระทัดดี เก่งจัง

ธีรเดช ทองทวง

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

ทำอย่างนี้เยอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆนะคับ


สรพงค์ บัวหลวง

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เก่งจังทำต่อไปนะจะเป็นกำลังใจหัย


จาก คนหวังดี

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

มีสาระดีนิ มีประโยชน์

ศิรินันท์ เพร็ชวงค์

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เก่งจัง มีสาระดี


อุมาภรณ์ วงค์มี

การควบคุมต้นทุน กล่าวว่า...

เนื้อหาดีแต่อักษรตัวเล็กจังขยายให้ใหญ่ด้วยมองไม่ค่อยเห็น


เจนจิรา รอดภัย