วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

การบริหารสำนักงาน" เป็นหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการสำนักงาน หรือองค์การ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื้อหาภายในครอบคลุมสามส่วนหลักได้แก่ ส่วนแรก แนวคิดการบริหารสำนักงาน ซึ่งเน้นผู้บริหารสำนักงานในยุคข้อมูลข่าวสาร ส่วนที่สอง ระบบการจัดการภายในสำนักงาน โดยมีรายละเอียดของการจัดการพื้นที่สภาพแวดล้อม พัสดุ เอกสาร แบบฟอร์มต่างๆ สำหรับส่วนที่สาม การปรับตัวและพัฒนาเพื่อการบริหารสำนักงานในอนาคต เป็นการเสนอแนวคิดของสำนักงานอัตโนมัติ การพัฒนาระบบงานบริหาร และทิศทางการบริหารสำนักงานในอนาคต อาทิ สำนักงานแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น
สำนักงานเป็นสถานที่ทำการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กิจกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่องานใด ๆ ก็จะต้องติดต่อกับสำนักงานทั้งสิ้น ดังนั้นสำนักงานจึงเป็นศูนย์รวมของงานทุกชนิดโดยเฉพาะงานด้านธุรการ ที่สำคัญยิ่งก็คือ งานด้านเอกสาร และการบริหารสำนักงาน ตามความเห็นของ เจ ซี เด็นเยอร์ (J.C.Denyer) การบริหารสำนักงานเป็นการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อนำเอาทรัพยากรบริหารที่ประกอบด้วย คน เงิน วัสดุสิ่งของ และการจัดการมาใช้เป็นกลไกในการปฏิบัติงาน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหน่วยงานขึ้นอยู่กับคุณภาพในการบริหารงาน ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อหาวิธีการทำอย่างไรจึงจะให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ

แนวทางการบริหารสำนักงานให้เกิดประสิทธิภาพ
1) วัตถุประสงค์ สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือการกำหนดวัตถุประสงค์ของสำนักงานหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสำนักงาน
2) องค์กร คือการจัดการในด้านบุคลากร การจำแนกตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากร
3) วิธีการ (ระบบ) คือลำดับของการปฏิบัติงานและสิ่งที่ต้องจัดทำ จัดทำที่ไหน ภายในกรอบเวลาที่กำหนด
4) บุคลากร จะเกี่ยวข้องกับการจัดจ้าง การกำหนดตำแหน่งหน้าที่ การฝึกอบรม ขวัญและกำลังใจ การปรับปรุงตำแหน่งหน้าที่ และการลดพนักงาน





หน้าที่ของสำนักงาน ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดเตรียมบริการด้านต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการสื่อสารและการบันทึกข้อมูล รวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ต่อไปนี้
1) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร (เช่นว่า ข้อเสนอ ตารางเวลา คำสั่งต่าง ๆ เป็นต้น)
2) เพื่อบันทึกข้อมูลข่าวสาร (เช่น วัสดุสำนักงาน ราคา ข้อมูลบุคลากร เป็นต้น)
3) เพื่อการจัดเตรียมข้อมูล (เช่น จัดทำต้นทุน บัญชี สถิติ เป็นต้น)
4) เพื่อการให้ข้อมูล (เช่น ออกใบส่งของ ประมาณการ เป็นต้น)
5) เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สิน (เช่น การรักษาเงินสด สินค้า เอกสารสำคัญ เป็นต้น) ในแง่นี้การมีประกันภัยที่พอเพียงย่อมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง

หน้าที่ของสำนักงานในทางธุรกิจ
1) โดยปกติแล้วมีความสำคัญรองลงมาจากด้านวัตถุประสงค์หลัก (ฐานราก) ของธุรกิจ (เช่นการผลิตในโรงงานมีความสำคัญในลำดับต้นก่อนการบริหารสำนักงาน)
2) เป็นส่วนที่เติมต่อฐานรากให้สมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้โรงงานทำงานได้นานยิ่งกว่าเดิมด้วยบริการสำนักงานในด้านการประเมินและจ่ายค่าแรง หรือการจัดการจ่ายค่าวัตถุดิบต่าง ๆ เป็นต้น
3) ทำหน้าที่ควบคุมปัจจัยในการผลิต โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการ บุคลากรและการควบคุมงบประมาณ